วันสตรีสากล

๘ มีนาคม…

วันสตรีสากล

(International Women’s Day)

จากความเหลื่อมล้ำและไม่ได้รับความเป็นธรรม
ด้านสิทธิสวัสดิการในการทำงานของสตรี
ส่งผลให้ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐
สตรีในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา 🇺🇸
ออกมาเรียกร้อง “#สิทธิสตรี”
จนกระทั่งวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๐)
ได้มีการรับรองข้อเรียกร้อง
จากแรงงานสตรีกว่า ๑๗ ประเทศ
นับเป็นความสำเร็จก้าวแรก
ในการเรียกร้องความเท่าเทียมให้กับสตรี
จึงได้ยึดถือวันดังกล่าวเป็น “#วันสตรีสากล” แต่นั้นสืบมา

สำหรับ #ประเทศไทย 🇹🇭
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
(The Food and Agriculture Organization of the United Nations: #FAO 🇺🇳)
ได้อัญเชิญพระฉายาสาทิสลักษณ์ใน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ลงบน “#เหรียญซีเรส” (#Ceres)
เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ในฐานะสตรีผู้อุทิศชีวิตและการทำงาน
เพื่อช่วยยกระดับสถานภาพของสตรี
ตลอดจนประชาชนในชนบท
ให้มีอาชีพสามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมั่นคง
และมีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
นับเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่แสดงถึง
การทำงานเพื่อสิทธิสวัสดิการสตรีไทย
โดยได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชานุญาต
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญซีเรส
พร้อมด้วยแผ่นเงินสลักคำสดุดีพระเกียรติคุณ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒

“เหรียญซีเรส” เป็นเหรียญรูปกลม
ด้านหน้าสลักพระฉายาสาทิสลักษณ์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ด้านหลังสลักเป็นรูปสตรีชาวนาสวมงอบและถือรวงข้าว
จารึกอักษรเป็นข้อความภาษาอังกฤษว่า
“To Give Without Discrimination”
แปลเป็นไทยว่า “ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง”

อนึ่ง
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
กรมธนารักษ์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้ผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกออกให้จ่ายแลก
ในโอกาสที่ FAO อัญเชิญพระฉายาสาทิสลักษณ์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ลงบน “เหรียญซีเรส”

In the early 20th century, women in many countries, especially in the United States, came out to raise their voices for women’s rights against inequality and unfairness in the welfare of workers. Until 8th March 1910, these voices of women workers in more than 17 countries were ratified, which was the first successful step in demanding equality for women. So, this day is taken as ‘International Women’s Day.’

For Thailand, ‘The Food and Agriculture Organization of the United Nations’ (#FAO 🇺🇳) used to invite Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother’s portrait on the commemorative coin of ‘#Ceres’ to honour her as a woman who has dedicated her life and work to help raise and empower women. Besides, she allows rural people to have a career to maintain a stable life and have a better quality of life which is another force that represents the work for the rights and welfare of Thai women.

On 11th May 1979, ‘FAO’ presented ‘Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother of Thailand’ with ‘the Ceres Medal’ at the Chakri Maha Prasat Throne Hall of the Grand Palace in Bangkok, Thailand. Presented along with the medal was a silver commemorative plaque engraved with a description of Her Majesty’s devotion to social work, helping rural women to generate income and enhancing the lives of her subjects.

The coin-shaped ‘the Ceres Medal’ is inscribed with the portrait of ‘Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother of Thailand’ on one side and a female farmer wearing a traditional palm leaf hat and holding the ears of a rice paddy in her hands on the other side. The inscription on the medal reads ‘To Give without Discrimination’.

Incidentally, on the occasion of the birthday celebration on 12th August 1980, The Treasury Department received royal permission to produce commemorative coins issued for exchange on the occasion that the FAO summoned the portrait of ‘Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother of Thailand’ on ‘the Ceres Medal’.

#InternationalWomensDay

แผ่นดินที่สาม+

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
รวม ๓ เรื่อง ในเล่มเดียวกัน
เกี่ยวกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประกอบด้วย

🔸 #โคลงปราบดาภิเษก
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชนิพนธ์ : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

🔹 #เมืองไทยในรัชกาลที่สาม
(แปลจากหนังสือของ ดร. เวลลา)

🔸 #แผ่นดินที่สาม
ผู้แต่ง : สมภพ จันทรประภา

เชิญอ่านและดาวน์โหลดได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่
http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:132

กำเนิดชินกันเซ็น

#55thHBDShinkansen 🎂🎁🎉

เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ (ค.ศ. ๑๙๖๔)
#รถไฟชินกันเซ็นเปิดให้บริการเป็นครั้งแรก

รถไฟ “#ชินกันเซ็น” หรือ “#ชิงกันเซ็ง
(#新幹線 : #Shinkansen)
ในเส้นทาง “โทไกโดชินกันเซ็น”
(東海道新幹線 : Tōkaidō Shinkansen)
ระหว่างกรุงโตเกียวกับนครโอซากะ
ระยะทาง ๕๑๕.๔ กิโลเมตร

โดยได้พัฒนามาจากรถไฟความเร็วสูง
ซีเมนส์” (Siemens) ของประเทศเยอรมนี

ปัจจุบันมีระยะทางรวมกว่า ๒,๗๖๕ กิโลเมตร
และวิ่งด้วยความเร็ว ๒๔๐ – ๓๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาพประกอบ :
เหรียญที่ระลึกเมื่อแรกเปิดให้บริการ
ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๐๗
(สมบัติส่วนตัวชิ้นล่าสุด)

วันธัชวิทยาโลก

๑ ตุลาคม…
#วันธัชวิทยาโลก (#วันการศึกษาธงโลก)
World Vexillology Day:
To recognize the publication of the first issue of
The Flag Bulletin on October 1, 1961
By Gerhard Grahl and Whitney Smih.

#vexiday

ดาวเทียมไทยโชต

เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
“#ดาวเทียมธีออส” (#Theos)
ซึ่งเป็น…
#ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของไทย
ประสบความสำเร็จในการปล่อยขึ้นสู่วงโคจรโลกในอวกาศ
จากฐานส่งจรวดในประเทศรัสเซีย

ทั้งนี้
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รัชกาลที่ ๙
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระราชทานเป็นมงคลนาม
ว่า “#ดาวเทียมไทยโชต” (#Thaichote)
มีความหมายว่า…
ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง

๓ กรกฎาคม…
#วันปลอดถุงพลาสติกสากล
(International Plastic Bag Free Day)
#NoPlasticBags ♻️ #ยืดอกพกถุงผ้า

#ยืดอกพกถุงผ้า✨🌿

◎ มา “ยืดอก…พกถุงผ้า” เดินเข้าห้าง
อย่าขวยเขินอางขนางช่างใครหัว
ช่วยกันคนละมือไม้ให้เคยตัว
ไม่ต้องกลัวขยะล้นโลกไม่ร้อน

◎ ทั้งถุงผ้าถุงกระดาษป่านปอถัก
อย่าผ่อนพักร่วมมือกันอย่าผันผ่อน
เราคิดดีทำดีเอื้ออาทร
เพื่อผาสุกนิรันดรร่วมช่วยกัน ๚ะ๛

ตึก หน้าพระลาน
(๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๘)

ช่างก่อสร้างอุเทนถวาย

“#โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
ได้ชื่อว่า “#อุเทนถวาย
เพราะที่ตั้งโรงเรียนเมื่อแรกตั้ง
อยู่บริเวณเชิง “#สะพานอุเทนถวาย
ซึ่งข้าราชการ “กรมสรรพากรใน” น้อมอุทิศ
สร้างถวายเป็นพระราชกุศลในการพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
และนามสะพานว่า “อุเทนถวาย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน
เนื่องจากกรมสรรพากรใช้รูป “#พระอุเทนธิราช
เป็นตราของส่วนราชการต่อมาเมื่อมีการขยาย “ถนนพญาไท
จึงได้รื้อ “สะพานอุเทนถวาย” ลง
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นผู้ริเริ่มไว้แต่ พ.ศ. ๒๔๗๖
จนเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๗
(นับศักราชใหม่เป็น ๒๔๗๘)
จึงได้ก่อตั้งเป็น “โรงเรียนเพาะช่าง แผนกช่างก่อสร้าง
หรือ “โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย

ต่อมายกฐานะเป็น
“#วิทยาลัยอุเทนถวาย” ใน พ.ศ. ๒๕๑๗

ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๕๑๘)
จึงได้โอนไปเป็นวิทยาเขตในสังกัด
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
ซึ่งภายหลังยกฐานะเป็น “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓
“#วิทยาเขตอุเทนถวาย” จึงเปลี่ยนเป็น
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย

ซึ่งปัจจุบันคือ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
วิทยาเขตอุเทนถวาย
เปิดสอนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

เครดิตภาพ : หน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเสี่ยงทายของกินเจ็ดสิ่ง

#การเสี่ยงทายของกินเจ็ดสิ่ง

ของกิน ๗ สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโคมี ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้นคือ

ถ้าพระโคกิน ข้าว หรือ ข้าวโพด : พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี

ถ้าพระโคกิน ถั่ว หรือ งา : พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

ถ้าพระโคกิน น้ำ หรือ หญ้า : พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี

ถ้าพระโคกิน เหล้า : พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

#พระโคกินเลี้ยง

การเสี่ยงทายผ้านุ่ง

#การตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกาย
(#การเสี่ยงทายผ้านุ่ง)

“#ผ้านุ่งแต่งกาย
ผ้านุ่งซึ่ง พระยาแรกนา ตั้งสัตยาธิษฐานหยิบ
เป็นผ้าลาย มีด้วยกัน ๓ ผืน
คือ #ผ้าหกคืบ, #ผ้าห้าคืบ และ #ผ้าสี่คืบ
ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุม
เพื่อให้พระยาแรกนาหยิบ
ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามกันคือ

🔸 ถ้าหยิบได้ “ผ้าสี่คืบ” พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่

🔸 ถ้าหยิบได้ “ผ้าห้าคืบ” พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

🔸 ถ้าหยิบได้ “ผ้าหกคืบ” พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่

#พืชมงคล #แรกนาขวัญ

๓๑ มีนาคม

#วันนี้ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวันที่ ๓๑ มีนาคม

● พ.ศ. ๒๔๓๑ (ค.ศ. ๑๘๘๙)
#หอไอเฟล (Tour Eiffel) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

● พ.ศ. ๒๔๔๐ (ค.ศ. ๑๘๙๘)
#สหรัฐอเมริกายึดมาโลลอส เมืองหลวงของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

● พ.ศ. ๒๔๕๙ (ค.ศ. ๑๙๑๗)
“#เดนิชเวสต์อินดิส” (Danish West Indies) ในหมู่เกาะแคริบเบียน เปลี่ยนชื่อเป็น “#หมู่เกาะเวอร์จินแห่งสหรัฐอเมริกา” (United States Virgin Islands : #USVI) ภายหลังจากสหรัฐอเมริกาซื้อจากเดนมาร์กในราคา ๒๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ

● พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. ๑๙๑๘)
#สหรัฐอเมริกาเริ่มใช้เวลาออมแสง; #เวลาออมแสง (daylight saving time : #DST) หรือ #เวลาฤดูร้อน (summer time)

● พ.ศ. ๒๕๒๘ (ค.ศ. ๑๙๘๕)
“#WrestleMania” ซึ่งเป็นรายการถ่ายทอดสดการแสดงมวยปล้ำอาชีพ ในลักษณะ “Pay-Per-View : #PPV” ที่ยิ่งใหญ่และยาวนานที่สุดของ #WWE : World Wrestling Entertainment เริ่มจัดขึ้นที่เมดิสันสแควร์การ์เดน ในนครนิวยอร์กเป็นครั้งแรก.